การเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้ง 2557
(2 ก.พ.) เกาะติดการนับคะแนน ผลการเลือกตั้ง 2
ก.พ. 2557 หลังบรรยากาศการเลือกตั้งตลอดทั้งวันเต็มไปด้วยสถานการณ์ต่างๆ ในหลายจุด
เกิดปัญหาตามหน่วยเลือกตั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคใต้
ซึ่งผลคะแนนเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากยังพบปัญหาในการเเลือกตั้ง
รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา
สรุปภาพรวมการเลือกตั้ง 2557
ล่าสุด นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต.
เปิดเผยตัวเลขผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการทั่วประเทศ โดยไม่รวม 9
จังหวัดภาคใต้ ที่มีปัญหาพบว่า มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 20,468,646 คน
จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 44,649,742 คน คิดเป็นร้อยละ 45.84
ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดย จ.ลำพูน มีผู้มาใช้สิทธิ์มากที่สุด คือ 241,209
คน คิดเป็นร้อยละ 72.80 ขณะที่พื้นที่ภาคใต้ 6 จังหวัด
ที่สามารถเปิดเลือกตั้งได้บางส่วนนั้น พบว่า จ.นราธิวาส มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์มากสุด
232,790 คน คิดเป็นร้อยละ 45.86 ขณะที่ จ.นครศรีธรรมราช
มีผู้มาใช้สิทธิ์น้อยที่สุด เพียง 1,292 คน คิดเป็นร้อยละ 0.11
ภาพรวมการดำเนินการจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศ
มีหน่วยเลือกตั้งรวม 93,952 หน่วย เปิดลงคะแนนได้ 83,813 หน่วย และปิดลงคะแนนไป
10,139 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 89.2 ทั้งนี้ใน 77 จังหวัด ประกาศงดลงคะแนนไป 18
จังหวัด โดยงดลงคะแนนทั้งจังหวัด 9 จังหวัดและงดลงคะแนนบางส่วน 9 จังหวัด รวม 69
เขต จำนวนเขตที่ประกาศงดลงคะแนนทั้งเขต 37 เขต งดลงคะแนนบางส่วน 32 เขต
(3 ก.พ.)
ผลการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ล่าสุด นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต.
เปิดเผยตัวเลขผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ทั่วประเทศ โดยไม่รวม 9 จังหวัดภาคใต้ ที่มีปัญหา พบว่า มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 20,468,646 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 44,649,742
คน คิดเป็นร้อยละ 45.84 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
โดย จ.ลำพูน
มีผู้มาใช้สิทธิ์มากที่สุด คือ 241,209 คน คิดเป็นร้อยละ 72.80 ขณะที่พื้นที่ภาคใต้ 6 จังหวัด
ที่สามารถเปิดเลือกตั้งได้บางส่วนนั้น พบว่า จ.นราธิวาส มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์มากสุด
232,790 คน คิดเป็นร้อยละ 45.86 ขณะที่
จ.นครศรีธรรมราช มีผู้มาใช้สิทธิ์น้อยที่สุด เพียง 1,292 คน
คิดเป็นร้อยละ 0.11
ส่วนการดำเนินการจัดการเลือกตั้งทดแทนหลังจากนี้
จะรับฟังรายงานสรุปปัญหาจากผู้อำนวยการการเลือกตั้งจังหวัดทั่วประเทศ
รวมถึงกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันพรุ่งนี้
ก่อนที่จะกำหนดแนวทางเพื่อกำหนดวันจัดการเลือกตั้งใหม่ รวมทั้งการแก้ไขปัญหา 28 เขต ที่ไม่มีผู้สมัคร ซึ่งต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ
สำหรับงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งใหม่ ยังมีเพียงพอ
ยังไม่จำเป็นต้องของบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มเติม ส่วนความชัดเจนจำนวนบัตรเลือกตั้ง
บัตรดี และบัตรเสีย จะสามารถเปิดเผยได้ในวันพรุ่งนี้
โดยจังหวัดที่ไม่มีผู้สมัคร จำนวน 8 จังหวัด 28 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย
1. จ.นครศรีธรรมราช เขต 3,8
2. จ.ชุมพร เขต 1
3. จ.กระบี่ เขต 1,2,3
4. จ.ตรัง เขต 1,2,3,4
5. จ.พัทลุง เขต 1,2,3
6. จ.สงขลา เขต 1,2,3,4,5,6,7,8
7. จ.สุราษฎร์ธานี เขต 1,2,3,4,5,6
8. จ. ภูเก็ต เขต 1
1. จ.นครศรีธรรมราช เขต 3,8
2. จ.ชุมพร เขต 1
3. จ.กระบี่ เขต 1,2,3
4. จ.ตรัง เขต 1,2,3,4
5. จ.พัทลุง เขต 1,2,3
6. จ.สงขลา เขต 1,2,3,4,5,6,7,8
7. จ.สุราษฎร์ธานี เขต 1,2,3,4,5,6
8. จ. ภูเก็ต เขต 1
สำหรับจังหวัดที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว 9 จังหวัด 16 เขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย
1. จ.นครศรีธรรมราช เขต 7
2. จ.ชุมพร เขต 2,3
3. จ.ภูเก็ต เขต 2
4. จ.พระนครศรีอยุธยา เขต 3,4
5. จ.นครสวรรค์ เขต 1,3
6. จ.น่าน เขต 1,2,3
7. จ.แพร่ เขต 1,2
8. จ.อุตรดิตถ์ เขต 1,3
9. จ.นครปฐม เขต 1
ส่วนจำนวนผู้สมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,249 คน โดยส่งลงสมัคร จำนวน53 พรรคการเมือง จาก 71 พรรคการเมือง
1. จ.นครศรีธรรมราช เขต 7
2. จ.ชุมพร เขต 2,3
3. จ.ภูเก็ต เขต 2
4. จ.พระนครศรีอยุธยา เขต 3,4
5. จ.นครสวรรค์ เขต 1,3
6. จ.น่าน เขต 1,2,3
7. จ.แพร่ เขต 1,2
8. จ.อุตรดิตถ์ เขต 1,3
9. จ.นครปฐม เขต 1
ส่วนจำนวนผู้สมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,249 คน โดยส่งลงสมัคร จำนวน53 พรรคการเมือง จาก 71 พรรคการเมือง