ปราสาทเขาพระวิหาร
ปราสาทเขาพระวิหาร ตั้ง
อยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตประเทศกัมพูชา
บริเวณที่ติดกับผามออีแดงของประเทศไทย
โดยตัวปราสาทหันหน้ามายังด้านที่ติดกับประเทศไทย ดังนั้น
การเข้าชมปราสาทในทางบก
จึงต้องใช้เส้นทางที่ผ่านผามออีแดงของประเทศไทยเท่านั้น
จากหลักฐานที่ปรากฏในจารึก แสดงว่าเขาพระวิหารแห่ง นี้ เป็นศิวะสถานสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 และต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 16-17 ก็ได้มีการสร้างเสริมเพิ่มเติมโดยลำดับ จนสำเร็จในรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้บันทึกคำประกาศของทางราชการ ไว้บนแผ่นศิลาจารึกด้วย
สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ทรงสถาปนาให้เขาพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่เรียกกันว่า กมรเตงชคตศรีศิขเรศวร เพื่อ หลอมรวมคนพื้นเมืองซึ่งมีทั้งจาม ขอม ส่วย ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระบบความเชื่อเดียวกัน ปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นศูนย์กลางความเชื่อ เป็นศูนย์รวมแห่งพิธีกรรมการนับถือบรรพบุรุษของชนพื้นเมือง มีการอุทิศถวายที่ดิน ข้าทาส วัตถุสิ่งของแด่ปราสาทเขาพระวิหารปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นแหล่งจาริกแสวง บุญของทั้งกษัตริย์ขอมโบราณและกลุ่มคนพื้นเมืองบริเวณเขาพระวิหารซึ่งเดิมมี ชื่อว่า กุรุเกษตร สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือพื้นที่ อ. กันทรลักษ์ อ. ขุขันธ์ จ. ศรีสะเกษ ปราสาทเขาพระวิหารเปรียบดังวิหารสวรรค์ของผู้คนในดินแดนเขมรต่ำและในเขตพนม ดงเร็ก ปราสาทเขาพระวิหารนี้มีลำตราวเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติร่วมกันของชุมชน ยอดเขาพระวิหารถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่ออำนาจที่นอกเหนือ ธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของสรรพสิ่งของชนพื้นเมือง ก่อนจะมีการสถาปนาให้สถานที่แห่งนี้เป็น ศรีศิขรีศวร ที่ประดิษฐานศิวะลึงค์อันศักดิ์สิทธิ์ ตามคติความเชื่อในลัทธิเทวราชาของขอม
แม้ว่าตัวปราสาทจะถูกสร้างโดยกษัตริย์ขอม แต่ทางขึ้นปราสาทและภวาลัยหันหน้ามาทางทิศเหนือสู่เขตอิสานใต้ของประเทศไทย แสดงถึงการเป็นที่สักการะของผู้คนในแถบนี้ และสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศสำหรับผู้คนในดินแดนเขมรต่ำ มีทางขึ้นที่สูงชันมาก อยู่ทางด้านตะวันออกของปราสาททางช่องแคบที่เรียกว่า ช่องบันไดหัก ปราสาท เขาพระวิหารได้เป็นศูนย์กลางความเชื่อในระดับลัทธิเทวราชและเป็นศูนย์รวม แห่งพิธีกรรมการนับถือบรรพบุรุษของผู้คนในท้องถิ่น มีการอุทิศถวายเทวสถานด้วยที่ดิน ข้าทาส วัตถุสิ่งของที่ทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนรอบปราสาทพระวิหารและบริเวณใกล้ เคียง ในบริเวณใกล้ๆปราสาทพระวิหารยังมีสถานที่น่าสนใจคือภาพแกะสลักนูนสูงที่ผามอ อีแดง และสถูปคู่ อันเป็นโบราณสถานรูปทรงแปลกตาตั้งอยู่คู่กันสองหลัง
ปราสาทเขาพระวิหารแห่งนี้ เดิม เคยอยู่ในความดูแลของไทย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณวัตถุสถาน ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พุทธศักราช 2483 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พุทธสักราช 2505 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของประเทศกัมพูชา ตามคำพิพากษาของศาลโลก และยังคงเป็นของกัมพูชาอยู่สืบมาจนถึงปัจจุบัน
จากหลักฐานที่ปรากฏในจารึก แสดงว่าเขาพระวิหารแห่ง นี้ เป็นศิวะสถานสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 และต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 16-17 ก็ได้มีการสร้างเสริมเพิ่มเติมโดยลำดับ จนสำเร็จในรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้บันทึกคำประกาศของทางราชการ ไว้บนแผ่นศิลาจารึกด้วย
สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ทรงสถาปนาให้เขาพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่เรียกกันว่า กมรเตงชคตศรีศิขเรศวร เพื่อ หลอมรวมคนพื้นเมืองซึ่งมีทั้งจาม ขอม ส่วย ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระบบความเชื่อเดียวกัน ปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นศูนย์กลางความเชื่อ เป็นศูนย์รวมแห่งพิธีกรรมการนับถือบรรพบุรุษของชนพื้นเมือง มีการอุทิศถวายที่ดิน ข้าทาส วัตถุสิ่งของแด่ปราสาทเขาพระวิหารปราสาทเขาพระวิหารจึงเป็นแหล่งจาริกแสวง บุญของทั้งกษัตริย์ขอมโบราณและกลุ่มคนพื้นเมืองบริเวณเขาพระวิหารซึ่งเดิมมี ชื่อว่า กุรุเกษตร สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือพื้นที่ อ. กันทรลักษ์ อ. ขุขันธ์ จ. ศรีสะเกษ ปราสาทเขาพระวิหารเปรียบดังวิหารสวรรค์ของผู้คนในดินแดนเขมรต่ำและในเขตพนม ดงเร็ก ปราสาทเขาพระวิหารนี้มีลำตราวเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติร่วมกันของชุมชน ยอดเขาพระวิหารถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่ออำนาจที่นอกเหนือ ธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของสรรพสิ่งของชนพื้นเมือง ก่อนจะมีการสถาปนาให้สถานที่แห่งนี้เป็น ศรีศิขรีศวร ที่ประดิษฐานศิวะลึงค์อันศักดิ์สิทธิ์ ตามคติความเชื่อในลัทธิเทวราชาของขอม
แม้ว่าตัวปราสาทจะถูกสร้างโดยกษัตริย์ขอม แต่ทางขึ้นปราสาทและภวาลัยหันหน้ามาทางทิศเหนือสู่เขตอิสานใต้ของประเทศไทย แสดงถึงการเป็นที่สักการะของผู้คนในแถบนี้ และสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศสำหรับผู้คนในดินแดนเขมรต่ำ มีทางขึ้นที่สูงชันมาก อยู่ทางด้านตะวันออกของปราสาททางช่องแคบที่เรียกว่า ช่องบันไดหัก ปราสาท เขาพระวิหารได้เป็นศูนย์กลางความเชื่อในระดับลัทธิเทวราชและเป็นศูนย์รวม แห่งพิธีกรรมการนับถือบรรพบุรุษของผู้คนในท้องถิ่น มีการอุทิศถวายเทวสถานด้วยที่ดิน ข้าทาส วัตถุสิ่งของที่ทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนรอบปราสาทพระวิหารและบริเวณใกล้ เคียง ในบริเวณใกล้ๆปราสาทพระวิหารยังมีสถานที่น่าสนใจคือภาพแกะสลักนูนสูงที่ผามอ อีแดง และสถูปคู่ อันเป็นโบราณสถานรูปทรงแปลกตาตั้งอยู่คู่กันสองหลัง
ปราสาทเขาพระวิหารแห่งนี้ เดิม เคยอยู่ในความดูแลของไทย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณวัตถุสถาน ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พุทธศักราช 2483 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พุทธสักราช 2505 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของประเทศกัมพูชา ตามคำพิพากษาของศาลโลก และยังคงเป็นของกัมพูชาอยู่สืบมาจนถึงปัจจุบัน
ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลโลก
ประชาชนคนไทยมักจะสงสัยอยู่เสมอว่า ทำไมประเทศไทยต้องไปขึ้นต่อสู้คดีต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีอธิปไตย มีเอกราช การขึ้นต่อสู้คดีของประเทศไทยมิเท่ากับเป็นการเสียเอกราชหรือ
ประเด็นนี้ เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อน หากใช้ความรู้สึกชาตินิยมหรือสามัญสำนึกย่อมไม่เข้าใจว่าทำไมประเทศไทยต้อง ขึ้นศาลโลก ผู้เขียนจะขออธิบายช่องทางการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเสียก่อนว่ามีวิธีการใด บ้าง การยอมรับเขตอำนาจศาลโลกนั้นทำได้อยู่สามประการคือ
ประการแรก การ
ยอมรับเขตอำนาจการพิจารณาคดีโดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดอนุสัญญาหนึ่ง
ซึ่งกำหนดว่า หากมีปัญหาในการตีความสนธิสัญญา ให้ศาลโลกเป็นผู้พิจารณา
ประการที่สอง
ประเทศคู่พิพาทตกลงทำความตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นเฉพาะกรณีๆ ไป
กล่าวคือ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาแล้ว
รัฐคู่พิพาทได้ทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะข้อพิพาทนั้น และ
ประการที่สาม รัฐได้ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้