Miss you so much Thanchanok : ธันวาคม 2012

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดาวเคราะห์เเคระ

ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet)
             
            ดาวเคราะห์แคระ คือ เทหวัตถุภายในระบบสุริยะที่มีคุณสมบัติ 4 ประการ
  • โคจรรอบดวงอาทิตย์
  • มีมวลมากพอที่จะทำให้มีแรงดึงดูดของดาวเอาชนะความแข็งของเนื้อดาว ทำให้ดาวอยู่ในสภาวะไฮโดรสแตติก   
  •  ไม่สามารถกวาดเทห์วัตถุในบริเวณข้างเคียงไปได้ เนื่องจากมีมวลและแรงดึงดูดไม่มากพอ
  • ไม่เป็นดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่น
ดาวพลูโตถูกลดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ เนื่องจากมีวงโคจรเป็นรูปวงรีบางส่วน ซ้อนทับวงโคจรของดาวเนปจูน  ส่วนดาวเคราะห์น้อยเซเรสถูกยกระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ เพราะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีรูปร่างค่อนข้างเป็นทรงกลม 

                                           ดาวเคราะห์แคระที่พบในแถบไคเปอร์

ขนาดของดาวเคราะห์แคระเปรียบเทียบกับโลก



หากพิจารณาดูจะพบว่า ดาวเคราะห์แคระตามนิยามใหม่นั้นมี 2 ประเภท คือ ดาวเคราะห์แคระที่เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น เซเรส เวสตา พัลลาส มีวงโคจรอยู่ในแถบเข็มขัดดาวเคราะห์น้อย ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี   ส่วนดาวเคราะห์แคระที่เป็นวัตถุไคเปอร์ซึ่งถูกเพิ่งค้นพบใหม่ มีขนาดใหญ่กว่า และมีวงโคจรรูปรีมาก มีวงโคจรถัดจากดาวเนปจูนและดาวพลูโตออกไป

รายชื่อดาวเคราะห์แคระขนาดใหญ่ 
   
ชื่อ
ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ (AU)
ขนาด (km)
ดาวพุธ
0.39
4,880
ดาวศุกร์
0.72
12,100
โลก
1.0
12,700
ดาวอังคาร
1.5
6780
เซเรส
2.8
950
ดาวพฤหัสบดี
5.2
139,800
ดาวเสาร์
9.6
116,500
ดาวยูเรนัส
19.2
50,700
ดาวเนปจูน
30.0
49,200
39.34
1,100
พลูโต
39.53
2,300
อิกเซียน
39.65
980
วารูนา
42.90
780
43.31
2,000
43.58
1,290
2005FY9
45.66
1,600
67.69
2,400
เซดนา
486.0
1,800

ดาวซีรีส (Ceres)
fศึกษ
        ซีรีส (อังกฤษ: Ceres) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1 ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอาซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801 ตั้งตามชื่อซีรีส เทพีโรมันแห่งการปลูกพืช เก็บเกี่ยวและความรักอย่างมารดา
ซีรีสมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 950 กิโลเมตรและประกอบด้วยมวลหนึ่งในสามของมวลทั้งหมดในแถบดาวเคราะห์น้อย  พื้นผิวซีรีสอาจเป็นส่วนผสมของน้ำแข็งและธาตุที่ถูกไฮเดรต เช่น คาร์บอเนตและดินเหนียว ซีรีสจำแนกเป็นแก่นหินและแมนเทิลน้ำแข็ง  และอาจมีมหาสมุทรน้ำในสถานะของเหลวกักเก็บไว้ใต้พื้นผิว
จากโลก โชติมาตรปรากฏของซีรีสอยู่ระหว่าง 6.7 ถึง 9.3 ดังนั้นแม้ในช่วงสว่างที่สุดก็ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า ยกเว้นท้องฟ้าที่มืดอย่างยิ่ง  วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2007 นาซาส่งยานสำรวจอวกาศดวอ์นไปสำรวจเวสตา (2011-2012) และซีรีส (2015)

ดาวพลูโต (Pluto)

ดาวพลูโต (Pluto) เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรตัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 5 ดวง ได้แก่ คารอน (มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต) นิกซ์ ไฮดรา (สองดวงนี้ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548) S/2011 P 1 (P4, ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2554) และ S/2012 P 1 (P5, ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2555)
พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลในเทพนิยายโรมัน หรือ เรียกว่า ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า พลูโต ก็เพื่อให้มีตัวอักษร "P-L" ในชื่อ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ในภาษาไทยอาจเรียกพลูโต ว่า ดาวยม หมายถึง ยมโลก หรือ นรก ซึ่งก็มีความหมายพ้องกับชื่อ พลูโต หรือ ฮาเดส ในตำนานกรีก






ดาว 2003 UB313           
            ขณะนี้ 2003 ยูบี 313 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทาง 97 หน่วยดาราศาสตร์ (1 หน่วยดาราศาสตร์ คือ ระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์) โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 557 ปี และระนาบวงโคจรเอียงทำมุม 44 องศากับระนาบวงโคจรโลก ขณะนี้ถือเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object) หรือวัตถุทีเอ็นโอ (Trans-Neptunian Object) ซึ่งหมายถึงวัตถุที่อยู่ไกลเลยจากวงโคจรของดาวเนปจูน
             ไมเคิล บราวน์, ชาด ทรูจิลโล และ เดวิด เรบิโนวิตซ์ ค้นพบ 2003 ยูบี 313 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 จากภาพถ่ายท้องฟ้าที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2546 พวกเขาประกาศการค้นพบในวันที่ 29 กรกฎาคม 2548 พร้อมกับวัตถุแถบไคเปอร์อีก 2 ดวง คือ 2003 EL61 และ 2005 FY9
             ทีมนักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ได้ดำเนินการค้นหาวัตถุที่อยู่รอบนอกระบบสุริยะมาเป็นเวลาหลายปี และมีส่วนในการค้นพบดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในแถบไคเปอร์ 2 ดวง คือ ควาอัวร์ (50000 Quaoar) และ เซดนา (90377 Sedna) โดยสำรวจท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์ซามูเอล ออสชิน (Samuel Oschin Telescope) ขนาด 48 นิ้ว ในหอดูดาวพาโลมาร์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนหน้านี้ พวกเขาวางแผนจะเก็บข้อมูลให้ได้มากกว่านี้ก่อนที่จะประกาศการค้นพบ แต่ข่าวได้รั่วไหลออกมาก่อนเนื่องจากถูกจารกรรมข้อมูลในเว็บไซต์ส่วนตัว ทำให้ต้องตัดสินใจประกาศ
            2003 ยูบี 313 เป็นรหัสที่เรียกตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล คาดว่าสหพันธ์ฯ จะตั้งชื่ออย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะพิจารณาจากชื่อที่เสนอโดยทีมผู้ค้นพบ และเนื่องจากวัตถุนี้มีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต คาดกันว่าสหพันธ์ฯ อาจพิจารณาให้เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ในระบบสุริยะ (ข่าวที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ขององค์การนาซาและสื่อมวลชนอื่น ๆ ต่างเรียกว่าดาวเคราะห์ไปแล้ว)
           2003 ยูบี 313 โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 557 ปี วงโคจรเป็นรูปวงรี ขณะนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 97 หน่วยดาราศาสตร์ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ได้มากที่สุดด้วยระยะทาง 35 หน่วยดาราศาสตร์ (ดาวพลูโตห่างจากดวงอาทิตย์ระหว่าง 29 - 49.5 หน่วยดาราศาสตร์) ระนาบวงโคจรทำมุม 44 องศากับระนาบสุริยวิถี (ระนาบวงโคจรของโลก)